Monday, April 20, 2009

New documents available at CELS - April 2009

New documents have been made available at CELS Documentation Centre.

Click here for the list.

Opening hours of the Documentation Centre: 9am-4pm, do not hesitate to pop in!

Presentation of CELS (Thai version)

ศูนย์วิจัยเพื่อการศึกษาและแรงงาน(CELS) ย่อมาจากคำเต็ม the Centre for Education and Labour Studies ก่อตั้งโดยความร่วมมือระหว่างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยฝรั่งเศส IRD (Institut de Recherche sur le Développement) เมื่อปี 2002 โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเสริมศักยภาพการวิจัยระดับอุดมศึกษา ในด้านการเรียนการสอนรวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา ศูนย์วิจัยเพื่อการศึกษาและแรงงานได้รับการส่งเสริมจาก IRD ให้เป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัยรุ่นเยาว์ (young research laboratory) ภายใต้ชื่อ JEAI ส่งเสริมการวิจัยด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปัญหาด้านแรงงานและสังคม การพัฒนาการศึกษาและคุณภาพการศึกษา

ผลจากดำเนินการวิจัยที่ผ่านมาและเชื่อมโยงถึงประเด็นที่กำลังดำเนินการต่อที่น่าสนใจมี ดังนี้

1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาเน้นการผลิตที่ใช้แรงงานราคาถูกและใช้เทคโนโลยีล้าสมัยและเนื่องจากทักษะการทำงานเกิดจากขณะปฏิบัติงาน การใช้เทคโนโลยีล้าสมัยจึงไม่ได้ช่วยให้มีการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ด้วยเหตุนี้การศึกษาของไทยจึงให้ความสนใจกับประเด็นอื่นมากกว่าเน้นความรู้ เช่น มุ่งการเป็นพลเมืองดีและการขัดเกลาความเป็นตัวตนของแต่ละชาติภูมิ (ความเป็นล้านนา อีสานและใต้ ฯลฯ)

2) หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 1997 ค่าแรงงานมีแนวโน้มสูงขึ้นซึ่งทำให้ผู้ประกอบการและระดับนโยบายกระตุ้นให้ผลิตภาพแรงงานสูงขึ้นซึ่งเชื่อมโยงถึงการใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น นั่นคือทักษะใหม่ๆ และเทคโนโลยีทันสมัยจะถูกนำมาใช้ในการผลิตแทน แต่เนื่องจากการได้มาซึ่งทักษะเกิดจากการปฏิบัติงานจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพได้นั้นต้องอาศัยความรู้ที่ดี มีคุณภาพที่เรียนรู้จากสถาบันการศึกษา จากความเชื่อมโยงส่วนนี้เองที่เป็นหน้าที่ของสถาบันการศึกษาที่ต้องปรับเปลี่ยนเป้าหมายการผลิตและกระบวนการใหม่

3) ความผิดพลาดของนโยบายทางการศึกษาที่เชื่อว่าทักษะวิชาชีพ(technological skills) เกิดขึ้นในสถาบันการศึกษา ทำให้มีความเชื่อว่าการอาชีวศึกษาต้องจัดให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงหรือคาดว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้จึงได้สุ่มเสี่ยง ละเลยจัดการศึกษาที่เป็นหน้าที่หลักของสถาบันการศึกษาคือการจัดการเรียนการสอนวิชาความรู้ (cognitive skills)

4) การสร้างความเข้มแข็งให้กับการศึกษาก็ต้องโดยการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยมุ่งให้การศึกษาส่งเสริม พัฒนาองค์ความรู้(knowledge)ให้กับผู้เรียน ให้มีศักยภาพที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองได้ เนื่องจากสังคมวิทยาการศึกษาและระบบการเรียนการสอน(didactic) เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการศึกษา งานวิจัยที่ศูนย์วิจัยเพื่อการศึกษาและแรงงานกำลังดำเนินการจึงมุ่งเน้นในสองมิตินี้ในรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม